ทำความรู้จักโปรแกรม Illustrator และส่วนประกอบต่างๆ พิมพ์
เขียนโดย brotherpong   
วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2015 เวลา 01:24 น.

 

ทำความรู้จักโปรแกรม Illustrator และส่วนประกอบต่างๆ

Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการออกแบบกราฟิก โดยที่โปรแกรมนี้มักจะนำไปใช้สำหรับการวาดภาพ
หรือการออกแบบสัญลักษณ์เนื่องจากเป็นโปรมแกรมที่ทำงานด้วยระบบ Vec
tor ซึ่งเป็นการสร้างภาพกราฟิกจากการคำนวณของโปรแกรม
โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดความละเอียดของภาพทำให้รูปภาพที่วาดจากโปรแกรมนี้มีความคมชัดสวยงาม
และยังสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้หลายครั้ง โดยที่คุณภาพของภาพยังคงเดิม


จุดเด่นของ โปรแกรม Illustrator ภาพที่ได้จากการ วาดภาพ โดยใช้ โปรแกรม Illustrator จะมีลักษณะเป็นภาพกราฟิกประเภทเวคเตอร์
ซึ่งจะมีความคมชัดอย่างมาก เนื่องจากลายเส้นของภาพ ประเภทเวคเตอร์ จะไม่แตกเหมือนกับภาพบิทแมพ โดยไฟล์ภาพที่ได้จาก
โปรแกรม Illustrator จะได้ภาพที่มีความคมชัด ไฟล์ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น .ai, .pdf, .eps ที่สามารถนำไปใช้กับโปรแกรมที่มีความสามารถใน
การออกแบบกราฟิกอื่นๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Photoshop, Flash, InDesign ฯลฯ
 
ภาพบนคอมพิวเตอร์นั้น มีวิธีการประมาผล 2 แบบแตกต่างกันดังนี้
  • การประมวลแบบเวกเตอร์ (vector) เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยมีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอน
    ฉะนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนย้าย ย่อ หรือ ขยาย ภาพก็จะไม่เสียรูปทรงทางเรขาคณิต โปรแกรม illustrator เป็นโปรแกรมที่ประมวลผลภาพ
    แบบเวกเตอร์
  • การประมวลผลแบบบิตแมพ (Bitmap) เป็นการประมวลผลแบบอาศัยค่าสีในแต่ละพิกเซล โดยแต่ละพิกเซลจะมีการเก็บค่าสี
    ที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งเหมาะกับภาพที่มีลักษณะแบบภาพถ่าย โปรแกรมที่ประมวลผลภาพแบบบิตแมพ
    ได้แก่ Photoshop , Paint เป็นต้น
 
 
ความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector
 


โปรแกรม Illustrator ทำอะไรได้บ้าง

โปรแกรม Illustrator ให้เราสามารถสร้างภาพโดยเริ่มจากหน้ากระดาษเปล่า เหมือนจิตรกรที่เขียนภาพลงบนผืนผ้า โดยใน Illustrator
จะมีทั้งปากกา พู่กัน ดินสอ และอุปกรณ์การวาดภาพอื่นๆ ซึ่งเราสามารถนำมาใช้สร้างงานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์ โบรชัวร์
นามบัตร หนังสือ งานออกแบบทางกราฟิก โลโก้ งานด้านการ์ตูน งานด้านเว็บไซต์
 


หน้าจอโปรแกรม Illustrator

หน้าจอของโปรแกรม Illustrator จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันออกไปดังนี้
 
 

แถบเมนูคำสั่ง (Menu bar)

 

แถบเมนูคำสั่ง (Menu bar) เป็นเมนูคำสั่งหลักของโปรแกรม Illustrator แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ดังนี้
 

File: เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับไฟล์และโปรแกรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการ เปิด-ปิดไฟล์ การ บันทึกไฟล์ การนำภาพเข้ามาใช้ (Place)
ตลอดจนการออกจากโปรแกรม (Exit)

Edit: เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการแก้ไข เช่น Undo Cut Copy Paste Select รวมทั้งการกำหนดคุณสมบัติ ต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพด้วย
เช่นการสร้างรูปแบบ (Define Pattern) การกำหนดค่าสี (Color Setting) เป็นต้น

Type: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้จัดการตัวหนังสือ เช่น Fonts Paragraph เป็นต้น

Select: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้ในการเลือกวัตถุ สามารถเลือกด้วยคุณสมบัติได้ เช่น เลือกวัตถุที่มี Fill และ Stroke แบบเดียวกัน
วัตถุที่อยู่บน 
Layer เดียวกัน เป็นต้น

Filter: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพ โดยจะมีผลต่อรูปร่างของ Path

Effect: เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพคล้าย Filter แต่จะไม่มีผลกับรูปร่างของ PathView: เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับ
การมองทุกสิ่งในงาน เช่น 
Zoom Show/Hide Ruler Bounding Box Outline Mode/Preview Mode เป็นต้น

Window: เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดหน้าต่างเครื่องมือต่างๆ เช่น Palette Tool Box เป็นต้น

Help: เป็นหมวดที่รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โปรแกรม

 

กล่องเครื่องมือ (Toolbox) 

เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง การปรับแต่งและการแก้ไขภาพ

 

 

คอนโทรลพาเนล (Control Panel)

เป็นแถบตัวเลือกสำหรับกำหนดค่าต่างๆ ของวัตถุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้สามารถกำหนดค่าสี ขนาด ตำแหน่ง
และคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุที่เลือกได้
ง่ายขึ้น

 

พี้นที่การทำงาน (Artboard)

เป็นบริเวณที่เราใช้วางวัตถุเพื่อสร้างชิ้นงาน ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากนั้น (Scratch area) เป็นบริเวณที่เราวางวัตถุแต่ไม่ต้องการให้แสดง
ในชิ้นงานใช้เพื่อพักวัตถุ หรือเผื่อไว้ใช้ในภายหลัง


 

พาเนลควบคุมการทำงาน (Panel)

เป็นหน้าต่างย่อยที่รวบรวมคุณสมบัติการทำงานของเครื่องมือต่างๆ ให้เราเลือกปรับแต่งการใช้งานได้ง่ายๆ ไม่ต้องเปิดหาแถบคำสั่ง
ซึ่งพาเนลจะถูกจัดเก็บไว้ในกรอบจัดเก็บพาเนลด้านขวาของหน้าจอ

 



แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2015 เวลา 22:43 น.